เมื่อลูกเต่าโต

              เมื่อลูกเต่าทะเลที่นำมาเพาะเลี้ยงมีขนาดโตและแข็งแรงพอที่จะช่วยเหลือตัวเองได้ประมาณ  2 - 3 เดือน  จึงจะนำลูกเต่าไปปล่อย ลง
ทะเล  ซึ่งตรงกับวันสงกรานต์หรือในวันประมงแห่งชาติ  ชาวจังหวัดภูเก็ตและพังงาถือว่าเป็นประเพณีปล่อยเต่า  โยประเพณีได้เริ่มมีมาตั้ง
 แต่เริ่มโครงการอนุรักษ์เต่าทะเลฝั่งอันดามันเป็นต้นมาทุกปีจนบัดนี้ เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมและเกิดแรงบันดาลใจให้หัน
 มาช่วนกันอนุรักษ์เต่าทะเลให้เหลือไว้เป็นสมบัติของธรรมชาติและประเทศสืบไป

            เพื่อเพิ่มอัตราการมีชีวิตรอดของลูเต่าทะเลให้สูงขึ้น  อาจจะทำการเพาะเลี้ยงลูกเต่าทะเลต่อไปจนมีอายุถึง  6  เดือนและ 1 ปี จึงจะ
ปล่อยลูกเต่าลงทะเลพรัอมกับติดเครื่องหมายไว้ที่หัวเต่า  เพื่อจะได้ทราบถึงแหล่งที่อยู่และแหล่งอาหารของมัน  หรือทราบถึงความเคลื่อนไหว
และอัตราการเจริญเติบโตของเต่าทะเลในธรรมชาติต่อไป  สถานที่ทำการทดลองได้แก่  สถาบันวิจัยชีววิทยาและประมงทะเล  แหลมพันวา
จังหวัดภูเก็ต

                ในการนำเต่าทะเลมาเพาะเลี้ยงลูกเต่าเพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาตินั้น  ทางสถาบันวิจัยชีววิทยาฯ ได้กระทำมานานกว่า  10  ปีมาแล้ว
 คิดเป็นจำนวนลูกเต่าที่ถูกปล่อยลงทะเลมีประมาณ  36,626  ตัว  อย่างไรก็ตาม อัตราการรอดของลูกเต่าทะเลก็ยังค่อนข้างน้อยที่เดียว  ในการ
 ศึกษาและติดตามลูกเต่าที่ถูกปล่อยลงสู่ทะเลโดยติดเครื่องหมายจำนวนทั้งสิ้น  4,820  ตัว ปรากฏว่าข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องหมายและเต่าทะเล
ที่ถูกปล่อยนั้นยังไม่ได้รับการกลับคืนมาเลย  ซึ่งมีสาเหตุหลายประการที่จะเป็นไปได้ เช่น อัตราการรอดของลูกเต่ามีน้อย  เครื่องหมายอาจจะ
หลุดหายไปก่อนที่ลูกเต่าทะเลจะโต  หรือบางทีลูกเต่าทะเลที่รอดตาย อาจจะว่ายน้ำไปอยู่แหล่งอื่นที่ห่างไกลออกไป

                   ดังนั้นผลจากการเพาะเลี้ยงและติดตามลูกเต่าทะเลจึงจะต้องใช้เวลาในการศึกษาหรือติดตามนานพอสมควรจึงจะทราบผล อย่าง
ไรก็ตามแนวทางอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลก็ยังคงต้องดำเนินและขยายดครงการออกไปอีกในอนาคตเพื่อให้ลูกเต่าทะเลคงอยู่น่านน้ำของไทยสืบ
ไป