การศึกษาพันธุ์เต่าทะเล

           สถาบันวิจัยชีววิทยาและประมงทะเลได้ทำการสำรวจจำนวนเต่าทะเลที่ขึ้นมวางไข่ที่ฝั่งทะเลอันดามันช่วงฤดู
วางไข่เดือนตุลาคมถึงเดือนมีนาคมของทุกปีนั้นพบว่าปกติแล้วเต่าทะเลตัวผู้จะอาศัยอยู่ในทะเลตลอดเวลา  ดังนั้น  การสำรวจจึงสามารถประเมินได้จากเต่าทะเลตัวเมียที่ขึ้นมาวางไข่บนหาดทรายเท่านั้น และไม่อาาจจะทราบได้ว่า
ในปัจจุบันนี้จะมีเต่าทะเลเหลืออยู่อีกจำนวนเท่าใดในการสำรวจและรวบรวมข้อมูล ก็ได้รับความร่วมมือจากผู้ประ
มูลเก็บฟองไข่เต่าซึ่งได้รับกระทำกันระหว่างผูประมูลกับรัฐบาลจากแหล่งสัมปทานเต่าทะเลต่าง ๆ ของจังหวัดภูเก็ต
และพังงา  โดยผู้ประมวลเก็บฟองไข่เต่าทะเลจะต้องทำการฟักไข่เต่าส่งมอบให้แก่สถาบันวิจัยชีววิทยาและประมง
ทะเลที่ภูเก็ตจำนวนหนึ่งคือประมาณ 10 - 15 % ของไข่เต่าที่เก็บได้ ทั้งนี้การประมูลจะกระทำกัน 3 ปีต่อครั้งโดยมี
การวางไข่ของเต่าทะเลดังนี้
                1. แหล่งวางไข่ของเต่าทะเลที่หาดกะตะ  หาดตะรน  หาดป่าตอง  ซึ่งประกอบไปด้วยหาดทรายขาวละเอียด
 ละเอียดยาวประมาณ  6  กิโลเมตร พื้นทะเลค่อนข้างเรียบจากชายฝั่งออกไปในท้องทะเลจะเป็นแนวประการังตลอด
อ่าวพบว่ามีเต่าทะเลขนิดเต่าหญ้าอยู่มากและเต่ามะเฟืองอีกจำนวนหนึ่งจา กแหล่งนี้ผู้ประมูลจะต้องทำการฟักไข่เต่า
ทะเลให้กับรัฐบาลเป็นจำนวน 500 ตัวต่อปี
                 2. แหล่งวางไข่เต่าทะเลที่หาดไนยาง  หาดสวนมะพร้าว  หาดทรายแก้ว  อำเภอถลางจังหวัดภูเก็ต มีลักษณะเป็นหาดที่ยาวติดต่อกัน 10 กิโลเมตรเป็นแหล่งวางไข่ของเต่าทะเลที่ใหญ่ที่สุดของภูเก็ตและเป็นแหล่งประ
มูลไข่เต่าอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งจะต้องผลิตลูกเต่าทะเลส่งให้หน่วยงานของรัฐบาลประมาณปีละ  1,500 ตัว
                3. แหล่งวางไข่เต่าทะเลหาดท่านุ่น อำเภอตะกั่วทุ่ง  หาดนาเตย  หาดท้ายเหมือง จังหวัดพังงา มีลักษณะของ
หาดทรายยาวจากสะพานสารสิน  จนสุดหาดท้ายเหมือง  มีความยาวติดต่อกันประมาณ  20 กิโลเมตรและเป็นหาด
ทรายกว้างเป็นแหล่งประมูลเก็บไข่เต่าทะเลที่ใหญ่ที่สุดของฝั่งทะเลอันดามันโดยสามารถฟักไข่เต่าทะเลส่งลูกอ่อน
ให้กับหน่วยงาน ของรัฐบาล  ได้ปีละประมาณ  1,400  ตัว
                4. แหล่งวางไข่เต่าทะเลหมู่เกาะพระทอง  อำเภอคุระบุรี  จังหวัดพังงา  ซึ่งประกอบไปด้วยเกาะคอเขาเ กาะ
พระทองและเกาะรา  แต่ละเกาะจะมีลักษณะเป็นหาดทรายยาวหลายกิโลเมตร ซึ่งมีเต่าหญ้าขึ้นมาวางไข่กันมากที่
สุดเท่าที่พบเห็น และสามารถผลิตลูกเต่าทะเลส่งให้กับหน่วยงานของรัฐบาล ได้ปีละประมาณ  1,400 ตัว
                    จากแหล ่งที่เต่าขึ้นมาวางไข่ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ยังไม่สามารถระบุลงไปได้ว่าเป็นเต่าทะเลชนิดใด ทั้งนี้เนื่องจากแม่เต่าทะเลที่วางไข่แล้วจะกลับลงสู่ทะเลไปก่อน  และคงจะได้เพียงตัวเลขรวม ๆ เท่านั้น อนึ่ง หลัง
จากปีพุทธศักราช 2526 ผ่านไป  บริเวณแหล่งวางไข่เต่าทะเลหลายแห่งถูกยกเลิกสัมปทานไป  เพราะหาดบางแห่ง
ได้ประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ เช่นบริเวณหาดไนยาง  หาดสวนมะพร้าว  หาดทรายแก้วของจังหวัดภูเก็ต และ
บริเวณหาดท้ายเหมือง หาดนา    เตย  จังหวัดพังงา เป็นต้น